การดูแลประจำวันในทารกแรกเกิด
การดูแลประจำวัน
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
การอาบน้ำ :
อาบด้วยน้ำอุ่น ควรอาบเสร็จภายใน 5-7นาที ในที่ลมไม่โกรก อาบวันละ 2 ครั้ง และสระผมวันละครั้ง ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังให้นม
การขับถ่าย :
การถ่ายปัสาวะ หลังถ่ายให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ถ้าปล่อยไว้นานทารกจะตัวเย็น การถ่ายอุจจาระ ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อย มีสีเหลือง จะมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดมะเขือ เพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง การทำความสะอาดก้น เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดกลับไปกลับมา
การดูแลสะดือทารก :
สะดือจะหลุดภายใน 7 - 14 วัน ดูแลให้โคนสะดือ และสะดือ แห้ง เสมอ เช็ดด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ วันละ 3 ครั้ง เมื่อสะดือใกล้จะหลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ
การให้นมบุตร :
ให้ลูกดูดนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง ไม่ต้องให้น้ำตาม เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพอ ดูการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การทำความสะอาดเสื้อ ผ้าอ้อม :
ซักด้วยสบู่เ็ด็ก หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ควรแยกซักจากของผู้ใหญ่
ภาวะปกติในทารกแรกเกิด
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
การสะดุ้งหรือผวา : เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัส แสดงถึงระบบประสาทที่ปกติ จะพบได้ในทารกที่นอนหลับสนิท และจะพบได้จนอายุ 6 เดือน
การบิดตัว : ทารกคลอดครบกำหนด มีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกจะยกแขนเหนือศีรษะ งอเข่า ตะโพก และข้อเข่า และบิดตัว พบได้ในทารกที่ปกติ ไม่ใช่เกิดจากการชักบิดผ้าอ้อม
การสะอึก : เกิดจากทารกดูดนมมาก และเร็ว ทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ ดันกระบังลม ทำให้สะอึก วิธีแก้ไข โดยไล่ลมในท่านั่ง หรืออุ้มพาดบ่า นาน 5 -5 10 นาที
การแหวะนม : ทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเข้าไป ทำให้แหวะนมหลังให้นม
วิธีแก้ ไล่ลมบ่อยระหว่างให้นมลูก โดยอุ้มให้นั่งหรือ อุ้มพาดบ่าหลังให้นม หรือให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย และนอนตะแคงขวานาน ครึ่งชั่วโมง
ผิวหนังลอก : จะเกิดขึ้นหลังอายุ 1 - 2 วัน จะหายไปราว 2 - 3 วันโดยไม่ต้องให้การรักษา
ลิ้นขาว : ให้มารดาใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก พันนิ้วก้อยให้แน่น เช็ดลิ้นทารกวันละครั้ง ห้ามใช้ผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะเช็ดลิ้น
มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด : จะออกใน 3 - 5 วันหลังคลอด และหายไปภายในสองสัปดาห์ เกิดจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ที่ผ่านไปยังทารก เมื่ออยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด
ผื่นผ้าอ้อม : ผิวหนังมีสีแดงหรือตุ่มหนองเล็กๆ เกิดจากการระคายเคือง จากสิ่งของที่มาสัมผัส เช่น ความชื้นจากการสัมผัสปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไป หรือการคั่งค้างของน้ำยาซักผ้าอ้อม การป้องกัน ดูแลให้ผิวหนังแห้ง อย่าปล่อยให้แช่ปัสสาวะ อุจจาระ ต้องล้างแล้วเช็ดให้แห้งและเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที
การมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล : บริเวณจมูก ริมฝีปากและแก้ม จะหายไปเองหลังคลอด 1 - 2 สัปดาห์
การถ่ายอุจจาระบ่อย : ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระบ่อย กะปริดระปรอย อาจถ่ายอุจจาระได้ถึง 10 - 20 ครั้งต่อวัน เพราะน้ำนมแม่ ย่อยง่ายและมีน้ำนม หลืองเจือปน ซึ่งจะช่วยระบายท้อง
การไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน : ภายหลังคลอด4สัปดาห์ น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้ ไม่มีน้ำนมเหลืองเจือปน เนื่องจากนมแม้ย่อยง่าย ทำให้เหลือกากน้อย ทารกที่ดูดนมแม่อาจไม่ถ่ายทุกวัน
ท้องผูก : หมายถึงการถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งทั้งกอง อาการท้องผูกพบบ่อยในทารก ที่เลี้ยงด้วยนมผสม และชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางหรือข้นเกินไป หรือให้นมไม่เหมาะสมกับวัย เช่นให้นมสำหรับเด็กโตแก่ทารก
อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
- ไข้สูง
- อาเจียนทุกครั้งหลังกินนม
- ท้องอืด
- ท้องเสียบ่อย
- ซึมดูดนมน้อยลง
- ซีด
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- สะดืออักเสบบวมแดง มีหนองออกจากโคนสะดือ
- ชักเกร็ง
พัฒนาการลูกน้อย
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
ทารกแรกเกิด 1 เดือน
ช่วงเดือนแรกของชีวิตทารกส่วนใหญ่จะกำมือแน่น เมื่อจับนอนคว่ำ ทารกสามารถหันศีรษะไปด้านใด ด้านหนึ่งได้ และจะอยู่ในท่างอแขนขา ลำตัว
การควบคุมศีรษะยังไม่ดีพอ เมื่อจับทารกหงายแล้ว ยกแขนขึ้นศีรษะจะตกไปด้านหลัง
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้ลูกน้อยนอนคว่ำบนที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไป เพื่อให้ลูกให้ฝึกชันคอ
ทารกแรกเกิด 2 เดือน
ทารกเริ่มคลายมือที่กำลัง พยายามยกแขน ไหล่เพื่อจับสิ่งของ ยกศีรษะขึ้นเมื่อจับให้นอนคว่ำและตัวงอ เมื่อนอนคว่ำและทรงตัวให้ศีรษะชันคออยู่ได้ไม่นาน
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
เพื่อให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป เพื่อให้ลูกได้ฝึกชันคอ และอุ้มพาดบ่าเพื่อให้ลูกได้ฝึกชูคอ ขึ้นมองสิ่งต่างๆ
ทารกแรกเกิด 3 เดือน
ระยะนี้กล้ามเนื้อของทารกจะพัฒนาขึ้น เขาหรือเธอจะชอบให้จับอุ้มนั่งหรือพาดบ่านาน ๆ เริ่มมีการ เคลื่อนไหวร่างกายโดยการพยายามชันคอและจะสามารถประคองได้ 45 องศา
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้ลูกนอนบนที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไปหรือพื้นราบเพื่อให้หัดพลิกคว่ำอย่างปลอดภัย โดยมีคุณดูแล อย่างใกล้ชิดและควรจะอุ้มเด็กหันหน้าออก และเล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้คว้า
ทารกแรกเกิด 4 เดือน
เริ่มมีการเคลื่อนไหว มีการตอบสนองทางด้านร่างกายมากขึ้น สามารถคว่ำยกศีรษะขึ้นสูง และชันคอได้ 90 องศา โดยใช้แขนยันตัวขึ้น ยกศีรษะตั้งตรงได้
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
เล่นกับลูกโดยพยายามให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการหยิบหรือคว้าจับ และก็ยังคงให้แกนอนเพื่อ ฝึกให้ชันคอ โดยต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยด้วย
ทารกแรกเกิด 5 เดือน
สามารถนั่งได้เมื่อพยุงเล็กน้อย ช่วงนี้จะเริ่มคืบ พลิกคว่ำพลิกหงายได้ ชันคอได้เมื่ออุ้มนั่งตัก หันศีรษะ ไปข้าง ๆ ได้ ในวัยนี้ ทารกจะเริ่มมีการพลิกคว่ำได้แล้ว มีการนอนหมุนตัวไปรอบ ๆ
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ต้องคอยระมัดระวัง อุบัติเหตุตกเตียง ตกเบาะ พยายามจัดสถานที่โล่ง กว้างปลอดภัยให้เด็กคืบ และหาของเล่นสีสด ๆ ชิ้นใหญ่ที่มีเสียงให้เด็กหยิบจับและคืบเข้าไปหา
ทารกแรกเกิด 6 เดือน
สามารถนั่งเองโดยใช้แขนยันตัวไว้ กลิ้งพลิกคว่ำหงายเองได้ เมื่อวางสิ่งของห่าง 6 นิ้ว มองตาม 180 องศา ใช้นิ้วจับของได้แต่ไม่ถนัด และเปลี่ยนมือได้สามารถมองเห็นได้ใกล้และไกล ทั้งสองตา ประสานกันได้ดี
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
จับลูกให้อยู่ในท่านั่ง และหาหมอนหรือที่นอนไว้รองรอบข้างตัว เพื่อไม่ให้ลูกล้มและเป็นอันตรายได้ เพราะช่วงนี้เด็กยังนั่งเองไม่ได้นาน
ทารกแรกเกิด 7 เดือน
นั่งได้ดีขึ้น คลานได้ มองตามสิ่งของหรือวัตถุได้ดีขึ้น หากคุณจับยืนจะลงน้ำหนักทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วหยิบหรือเปลี่ยนจับสิ่งของได้
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
อุ้มให้น้อยลง พยายามให้ลูกนั่งเล่นเอง โดยคุณดูแลอย่างใกล้ชิด หัดให้หยิบของหรือถ้วยหัดดื่มเองเพื่อ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ด้วย
ทารกแรกเกิด 8 เดือน
ลุกจากท่านอนได้ นั่งเองได้นาน จับถือขวดนมได้ เมื่อเอาขวดนมใส่ปาก และหยิบขนมปังทานได้ ช่วงนี้แกจะคลานได้เร็วขึ้น
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเด็กเคลื่อนไหวได้แล้ว และในช่วงนี้คุณควรหัดให้เกาะยืน โดยดูแลอย่าง ใกล้ชิด
ทารกแรกเกิด 9 - 10 เดือน
นั่งได้มั่นคง คลาน และเกาะยืนได้ ยืนท่าเท้ากาง ขากาง หัวไหล่งุ้มลง เท้ารับน้ำหนักได้ และสามารถหยิบจับสิ่งของเล็กได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
หัดให้ถือช้อน ถ้วยน้ำเอง จัดสถานที่และบริเวณให้เด็กได้คลานและหัดเกาะยืนเอง
ทารกแรกเกิด 11 - 12 เดือน
ยืนเองได้ชั่วคราว เกาะยืน ก้าวขา 2 ก้าว การใช้ตาและมือ สามารถใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของเล็ก ๆ ได้ถนัด หยิบของใส่ถ้วยหรือกล่อง
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้โอกาสลูกหัดยืนและเดินในที่โล่งกว้าง และหัดให้ลูกหัดหยิบของกินเอง เช่น มะละกอสุก หรือมันต้ม[/tab_item]
การทำความสะอาดช่องปากทารก
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
สำหรับการเลี้ยงลูกนั้น นมแม่จะมีผลดีต่อสุขภาพในช่องปากของทารก โอกาสเกิดฝ้าขาวในปากจะน้อยกว่าการเลี้ยงด้วยนมขวด แต่หากจำเป็น ต้องเลี้ยงด้วยนมขวด ควรปฏิบัติดังนี้
1 ให้ทารกดูดน้ำตามหลังดูดนมขวด เพื่อชะล้างคราบนมที่ตกค้างในปาก โอกาสเกิดฝ้าขาวในปากจะลดลง
2 ไม่ปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม เพราะจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุลุกลาม อย่างรวดเร็ว
การทำความช่องปากทารก
ทารกอายุ 6 - 7 เดือน ฟันหน้าเริ่มขึ้น ควรใช้ผ้านุ่มสะอาดพันปลายนิ้วชุบ น้ำต้มสุกเช็ดเหงือกและฟัน เช้า - เย็น เพื่อทำความสะอาดและเป็นการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปาก ต่อไปเด็กจะยอมรับการ แปรงฟันได้ดี เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป อาจให้รับประทานฟลูออไรด์เสริมเพื่อ ให้ฟันแข็งแรง แต่จะต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น เด็กวัยขวบครึ่ง ฟันกรามน้ำนมเริ่มขึ้น ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม แปรงฟันให้เด็ก โดยยังไม่ต้องใช้ยาสีฟัน[/tab_item]
ข้อแนะนำมารดา
โดย นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ผู้เชียวชาญด้านกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
1. การให้นมบุตร……อายุ 2 อาทิตย์แรก ให้กินบ่อยตามความต้องการ กรณีกินนมมารดา แต่ถ้ากินนมผงให้กินทุก 3-4 ชั่วโมง อาทิตย์ที่ 2-4 ให้กินนม ทุก 3-4 ชั่วโมง ทั้งนมมารดาและนมผง
2. การนอนคว่ำ………บุตรสามารถนอนคว่ำได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ถ้าเพิ่งกินนมเสร็จควรให้นอนหัวสูงประมาณ 1/2-1 ชั่วโมงแล้วค่อยให้นอนคว่ำ โดยที่นอนจะต้องแข็งพอสมควรเพื่อไม่ให้กดจมูกของลูก
3. ตัวเหลือง…………
ลูกสามารถมีตัวเหลืองได้ในช่วงแรกเกิด โดยจะเริ่มเหลืองจากหน้าไล่ลงไปถึงเท้าการตัวเหลืองผิดปกตินั้น ถ้า
1. อาทิตย์แรก เหลืองบริเวณต้นขาและปลายเท้า
2. อาทิตย์ที่สอง เหลืองบริเวณยอดอก
3. อาทิตย์ที่สาม มีหน้าเหลืองมากควรพบแพทย์
4. ผื่น… แรกเกิดถึง 6 เดือน สามารถมีผื่นขึ้นง่าย เนื่องจากผิวหนังลูกที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นถ้ามีผื่นขึ้นเป็นๆ หายๆ ใน 1/2 วันยังไม่หายต้องรักษา แต่ถ้ามีผื่นลามขึ้นและไม่หาย 1-2 วัน ถือว่าผิดปกติควรมาพบแพทย์
5. การเช็ดตา…… ควรใช้สำลีแห้งชุบน้ำอุ่นเล็กน้อย ซับที่หัวตาก็พอ ไม่ควรเช็ดปาดทั้งตา
6. การเช็ดสะดือ….เช็ดด้วยแอลกอฮอล 70 เปอร์เซ็นต์ ควรดึงสะดือเบาๆแล้วเช็ดในโคนสะดือทุกครั้งเมื่อ เห็นสะดือแฉะ การเช็ดรอบสะดือควรเช็ด วันละ 1-2 ครั้งก็พอเพราะถ้าเช็ดมากจะทำให้ผิวแห้ง
7. การถ่ายอุจจาระ….. เด็กแรกเกิดช่วง 1-2 สัปดาห์ อาจถ่ายได้ถึง 10 ครั้ง/วัน โดยอุจจาระต้องเหลวหรือคล้ายดอกผักกาด และพออายุ 3-4 สัปดาห์ จะถ่ายอุจจาระลดลงเนื่องจากการดูดซึมลำไส้ดีขึ้น ในบางรายถ่ายวันเว้นวันก็ได้ ( แต่ลักษณะอุจจาระต้องไม่แข็งหรือมีเลือดออกตามมา ) 1-2 เดือนแรก การกินน้ำมากๆ ไม่ได้ช่วยให้ถ่ายเหลวขึ้นกลับทำให้ถ่ายแข็ง หรือไม่ถ่ายอุจจาระถ้าบุตรถ่ายแข็งมากควรปรึกษาแพทย
8. การขลิบหนังหุ้มปลาย….. ในทารกเพศชายปกติไม่จำเป็น เพราะเสี่ยงกับการติดเชื้อหรือถ้าขลิบไม่ดี จะทำให้จะทำให้อวัยวะเพศชายถูกดึงรั้งได้ ทางการแพทย์จะขลิบกรณีเดียว คือผู้ป่วยปัสสาวะลำบาก
ติดต่อสอบถาม หรือตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับการดูแลประจำวันในทารกแรกเกิด
ได้ที่นี่ค่ะ http://www.ubonrak.co.th/ask-question/