ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
หวัดดี....แต่ถ้าเป็นหวัดไม่ดีแน่
โรคไข้หวัดไข้ เกิดจากอะไร …?
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Influenza Virus โดยการติดเชื้อที่พบในมนุษย์ คือ สายพันธุ์ A, B และ C
- ไวรัสชนิด A
มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์พาหะมาสู่คน และจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่น ๆ ทางการไอ จาม และอากาศหายใจที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ จึงสามารถแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง หรือระบาดไปทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โครงสร้างของไวรัสชนิด A แตกต่างจากไวรัสชนิดอื่น คือ มีไกลโคโปรตีน 2 แบบ ได้แก่ Hemagglutinin (HA) และ Neuraminidase (NA) โดย HA มีหน้าที่จับกับตัวรับสารของเซลล์แล้วบุกรุกเซลล์ สร้างอนุภาคไวรัสขึ้นมาใหม่ เมื่อติดเชื้อแล้ว NA จะทำหน้าที่ส่งไวรัสที่สร้างขึ้นใหม่แพร่กระจายไปสู่เซลล์อื่น ๆ
โปรตีน HA มีทั้งสิ้น 15 ชนิดย่อย และ NA มี 9 ชนิดย่อย สายพันธุ์ของไวรัสจึงถูกตั้งชื่อตามการจับตัวของโปรตีน อย่างสายพันธุ์ที่มีการระบาดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่น H1N1 (ไข้หวัดหมู) H5N1 (ไข้หวัดนก)
- ไวรัสชนิด B
มักแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ อย่างฤดูหนาวและฤดูฝน เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Flu) อาจแพร่ระบาดได้ในระดับภูมิภาค
- ไวรัสชนิด C
เป็นการติดเชื้อทางระบบหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการป่วยเลย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
- ไวรัสชนิด D
เป็นการติดเชื้อที่พบเฉพาะในสัตว์ และยังไม่พบการติดเชื้อที่แพร่มาสู่คน
การติดต่อ
เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ที่อาจแพร่กระจายอยู่ในอากาศ หรือเจือปนอยู่ในของเหลว คนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น นำมือที่สัมผัสกับเชื้อมาขยี้ตา สัมผัสน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อจากการใช้ช้อนหรือแก้วน้ำดื่มร่วมกัน ไข้หวัดใหญ่มีระยะฟักตัว 1-4 วัน หลังสัมผัสเชื้อ พบได้ตลอดปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
อาการ
มีไข้ อ่อนเพลีย ไอ มีน้ำมูก คัดจมูก และปวดเมื่อยตามตัว อาจมีปวดศรีษะร่วมด้วย
ใครที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
- คนที่เป็นโรคอ้วน (BMI มากกว่า 40)
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2ปี
- สตรีมีครรภ์ อายุครรภ์ตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด หอบหืด โรคตับ และโรคไต
โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไข้หวัดใหญ่ พบมีโอกาสเข้านอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 5-15 เท่า
การป้องกัน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างสุขภาพแข็งแรง
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
กินร้อน ช้อนกลาง
หลีกเลี่ยงและสัมผัสผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่
ไอ จาม ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
ลดโอกาสป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
เหตุใดจึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
- กระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้สูงพอในการป้องกัน
- เชื้อไวรัสที่ระบาดในแต่ละปีเป็นเชื้อที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันสายพันธุ์ที่จะระบาดในปีนั้นๆ
ด้วยความปารถนาดีจาก โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
“บริการด้วยหัวใจ ดูแลใส่ใจดุจญาติสนิท”
Service by Heart Care as Our Family
โทร.045-429100 เว็บไซต์ http://www.ubonrak.co.th Line@ubonrak