“โรคกระดูกพรุน”
ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่มีการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดรูเล็กๆ เป็นโพรงภายในกระดูกจำนวนมาก ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงหรือโปร่งบางมากขึ้น ทำให้กระดูกเปราะและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุนคือ “อายุ” ที่ยิ่งมากขึ้น การสร้างมวลกระดูกใหม่เพื่อทดแทนมวลกระดูกเก่าจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้เป็นโรคที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การป้องกันโรคกระดูกแต่เนิ่นๆ จึงสำคัญมาก โดยพบว่าในผู้หญิงจะมีการสร้างมวลกระดูกลดน้อยลงเมื่อเข้าสู่วัย 30 ปี
ภาวะกระดูกพรุนนับเป็น “มฤตยูเงียบ” เนื่องจากภาวะกระดูกพรุนนั้นจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อน อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อย ๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือ หรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น จะรู้ตัวว่ามีกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเกิดกระดูกหักเสียแล้ว ซึ่งการหักของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระดูกสะโพกในคนที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ เดินไม่ได้ต้องทนทุกข์ทรมาน และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น
การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียม
- ควรออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
- งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ตรวจวัดมวลความหนาแน่นของกระดูก
โรคกระดูกพรุน”
รู้ได้ด้วย การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (BONE MINERAL DENSITY)
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) ทำอย่างไร
การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density หรือ BMD) ด้วยเครื่องตรวจ DEXA Scan (Dual Energy X-ray Absorptiometry Scan) เป็นเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยใช้ X-ray พลังงานต่ำ 2 พลังงานในการตรวจ ผู้รับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีน้อย โดยเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง และถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานตำแหน่งที่ตรวจ คือ บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และบริเวณข้อมือ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่พบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจที่สะดวกและง่าย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวหรืองดน้ำและอาหารแต่อย่างใด การตรวจนี้ผู้ป่วยจะได้รับรังสีปริมาณเพียงเล็กน้อย ใช้เวลาการตรวจประมาณ 5-10 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนบริเวณที่ต้องการตรวจ
เงื่อนไข
- ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์
- ราคาต่อบุคคลเป็นบาท
- ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ราคานี้ใช้ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 045-429100 แผนก OPD2 ต่อ 2241-2
46/4 ถ.บูรพาใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
facebook:Ubonrak Thonburi Hospital
LINEID: @ubonrak