ข้อมูลสุขภาพ

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง EP.1 การนอน

1. การดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง 
- จัดท่านอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักของ เสมหะเข้าสู่ปอด
- กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไอขับเสมหะออกเองได้ ควรใช้ลูกสูบยางแดง บีบเพื่อดูดเสมหะออก ภายหลังการใช้ลูกสูบยางแดงควรทำความ สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานล้างให้สะอาดแล้วลวกด้วยน้ำร้อน

2. การป้องกันการเกิดแผลกดทับ 
แผลกดทับ เกิดจากบริเวณผิวหนัง และ เนื้อเยื่อใต้บริเวณผิวหนัง ถูกทำลายทำให้เกิดเนื้อตาย เนื่องจากมีการกดทับ เป็น เวลานานๆ ทำให้เลือดไหลมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่ เพียงพอ 
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เพื่อบรรเทาอาการกดทับ และ ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหว โดย มีกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดี ขึ้น รักษาผิวหนังให้สะอาด และ แห้งอยู่เสมอ
วิธีปฏิบัติในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
2.1. ป้องกันการถูกกดทับ
- พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง และจัดให้มีการเคลื่อนไหว โดยจัด ให้ตะแคงซ้าย-ขวา นอนหงาย นอนคว่ำสลับกันไป 
- จัดท่านอนให้ถูกต้องโดยใช้ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่มรองบริเวณที่กด ทับเพื่อช่วยลดแรงกดทับ 
- ดูแลที่นอน ผ้าปูเตียงให้แห้งสะอาด ปูให้เรียบตึง 
- ควรใช้ที่นอนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีเช่น ที่นอนฟองน้ำ 
- เวลายก หรือ ย้ายผู้ป่วย ควรใช้ผ้ารอง และยกย้าย พลิกตัวทั้ง ผ้าที่รองตัว เพื่อป้องกันการเสียดสี 

แสดงวิธีการพลิกตะแคงตัว
2.2. สำรวจดูผิวหนังของผู้ป่วย
- หมั่นสังเกตบริเวณผิวหนังทั่วๆ ไป โดยเฉพาะบริเวณที่ถูก กดทับ เช่น ท้ายทอย ใบหู หลังส่วนบน ก้น ข้อศอก ส้นเท้า ถ้ามีรอยแดง ถลอก เปื่อย ต้องป้องก้นแก้ไขทันที 
 

แสดงบริเวณที่จะเกิดแผลกดทับได้ง่าย

- นวดบริเวณที่กดทับนั้นเบาๆ เพื่อให้การไหลเวียนของเลือด ดีขึ้น ลดการบวม และ ทำให้การบีบตัวของหลอดเลือด แข็งแรงขึ้น 
- รักษาความสะอาดร่างกายของผู้ป่วย เตียง ผ้าปูและ ผ้า ขวางเตียง ปลอกหมอน

2.3. ดูแลสุขอนามัยของผิวหนัง 
- ผิวหนังของผู้ป่วยควรแห้ง สะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าผิวหนัง เปียกชื้น หรือร้อน จะทำให้ผิวหนังเปื่อย และถลอกง่าย โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ซอกคอ ใต้ราวนม ขาหนีบ ขาพับ ก้น และฝีเย็บ 
- หลังการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ควรทำความสะอาดล้างด้วย น้ำ และสบู่ เช็ดผิวหนังให้แห้ง 
- ใช้ครีมทาผิว ทาในบริเวณผิวที่แห้งแตก นวดเบาๆ อย่าง ระมัดระวัง ในบริเวณที่มีผิวหนังแดง 
- หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ เพราะทำให้ผิวหนังแห้ง


3. การจัดท่านอนผู้ป่วย
ผู้ป่วยต้องใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่บนเตียง เนื่องจากไม่สามารถ เคลื่อนไหวตัวเองได้ตามปกติ ต้องนอนอยู่ท่าใด ท่าหนึ่งเป็นเวลานานมีผล ทำให้เกิดความไม่สุขสบายขึ้น ญาติควรให้ความช่วยเหลือในการจัดท่า นอนให้ถูกต้อง เปลี่ยนท่านอนให้บ่อยๆ ช่วยขยับเขยื้อน หรือออกกำลัง กายให้เพื่อความสุขสบาย และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ญาติ/ ผู้ดูแล ควรยึดหลักปฏิบัติดังนี้ 
- จัดท่านอนแนวลำตัวตรง น้ำหนักร่างกายทุกส่วนกดลงบนที่นอน เท่าๆ กัน 
- ช่วงอก ช่วงท้อง ไม่ถูกกดทับ 
- ข้อต่อต่างๆ อยู่ในท่างอเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย 

 รูปภาพแสดงการจัดท่านอนที่ถูกต้อง

การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่ดี 
- นอนตะแคงเต็มตัว 
- ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย 
- ลำตัวตรง 
- แขนข้างที่เป็นอัมพาตจัดให้ไหล่งุ้มไปทางด้านหน้า ใช้หมอนรอง แขน และมือวางบนหมอน 
- ขาข้างอัมพาตจัดให้สะโพกงอ เข่างออยู่บนหมอน เท้ารองรับไว้ บนหมอนเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเท้าบิดงอ 
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่เป็นอัมพาต 
- จัดศีรษะโน้มไปทางด้านหน้า 
- ลำตัวตรง 
- แขนไหล่ข้างที่เป็นอัมพาต ห่อมาทางด้านหน้า ช่วงปลายแขนอยู่ ในท่าหงายมือ 
- ขาด้านหลัง ข้างที่เป็นอัมพาตจับเหยียดข้อสะโพก เข่างอเล็กน้อย 
- ขาข้างดี อยู่ด้านบนงอไปทางหน้าใช้หมอนรองรับ 

รูปภาพแสดงการจัดท่านอนที่ถูกต้อง

หลักในการจัดท่านอนที่ถูกต้อง 
- จัดหมอนบางๆ หนุนที่ไหล่ และต้นแขนที่เป็นอัมพาต 
- จัดศีรษะให้หมุนไปด้านที่เป็นอัมพาต เพื่อป้องกันทางเดินหายใจ อุดตัน 
- จัดลำตัวให้ตรง อย่าให้เอียงไปด้านที่เป็นอัมพาต 
- ศีรษะหนุนหมอนใบเล็กๆไม่ยกสูงจนเกินไป 
- ป้องกันไม่ให้ขาแบะออก จัดให้ขาที่เป็นอัมพาตอยู่ในท่าตรงใช้ ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าธรรมดาพับวางที่สะโพก ใต้เข่า และใต้ข้อเท้า
- จัดวางเท้า ป้องกันปลายเท้าตก และ ป้องกันการเกิดแผลของ ส้นเท้า