ข้อมูลสุขภาพ

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง EP.4 การทำกิจวัตรประจำวัน

การทำกิจวัตรประจำวัน 
            การทำความสะอาดปาก ฟัน และการอาบน้ำ ช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย สดชื่น หาย อ่อนเพลีย ผิวหนังสะอาดอีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการ ไหลเวียนโลหิต และสามารถสังเกตความผิดปกติของ ผิวหนังผู้ป่วย เช่น มีแผล ผื่นคัน รอยแดง ได้ โดยมีเครื่องใช้ดังนี้ 
- กะละมังใส่น้ำ 1 ใบ บรรจุน้ำประมาณ 2/3 ส่วน 
- ผ้าถูตัวผืนเล็ก 2 ผืน 
- ผ้าเช็ดตัวผืนกลาง 1 ผืน 
- สบู่แป้ง ไม้พันสำลีน้ำยาบ้วนปาก (ถ้าผู้ป่วยลุกนั่งได้ใช้แปรงสี ฟัน ยาสีฟันแทน) 
- เสื้อผ้าชุดใหม่1ชุด 
- ผ้าห่มคลุมตัว 
- หวี

การทำความสะอาดปาก และฟัน
- เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม ยกไปที่เตียง 
- บอกให้ผู้ป่วยทราบก่อนให้การดูแล
- จัดท่าให้ผู้ป่วยตะแคงให้หน้าหงายอยู่ริมหมอน 
- เตรียมยาสีฟันใส่แปรงสีฟัน 
- ใช้ผ้าเช็ดตัวรองหมอน แล้ววางชามรูปไตแนบแก้มผู้ป่วย 
- ต่อจากนั้นให้ผู้ป่วยอ้าปาก แล้วแปรงข้างหน้าก่อน ถ้าไม่ รู้สึกตัว ใช้ไม้กดลิ้นช่วยแล้วแปรงฟันซี่ในเท่าที่จะทำได้
- ใช้น้ำล้างปากให้ผู้ป่วยอ้าปาก โดยใช้ลูกสูบยางแดงใส่น้ำค่อยๆ ปล่อยน้ำลงไปช้าๆ เพื่อป้องกันการสำลัก 
- ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาล้างปากทำความสะอาดในบริเวณปาก ฟันที่แปรงเข้าไปไม่ถึง 
- จัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่ถูกต้องเหมาะสม 
- ยกเครื่องใช้ไปล้างเก็บเข้าที่
การอาบน้ำ
- จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย ใช้ผ้าห่มคลุมตัว ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด (ถ้ามี น้ำเกลืออยู่ ให้ถอดแขนเสื้อที่ไม่ได้ให้น้ำเกลือก่อนข้างที่ให้น้ำเกลือ ถอดทีหลัง) 
- ใช้ผ้าถูตัวชุบน้ำบิดพอหมาด เช็ดหน้า หูจมูก คอให้เปียกก่อน แล้ว ใช้ผ้าถูตัวอีกผืน ชุบน้ำบิดพอหมาด และฟอกสบู่ เช็ดหน้า หูจมูก คอ จนสะอาด ใช้ผ้าถูตัวผืนแรกชุบน้ำเปล่าเช็ดจนหมดสบู่แล้วซับให้แห้ง ด้วยผ้าเช็ดตัว (ถ้าผู้ป่วยไม่ชอบใช้สบู่ถูหน้าก็ไม่ต้องใช้) 
- เช็ดช่วงอก รักแร้และท้อง ฟอกสบู่ และ เช็ดออกให้สะอาด ซับให้ แห้ง แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ 
- เช็ดแขน ใช้ผ้าเช็ดตัวรองตามยาว จับข้อมือผู้ป่วยให้ยกแขนขึ้น เพื่อ เช็ดรักแร้เช็ดแขนด้านไกลตัวก่อน เช็ดทีละท่อน ตั้งแต่มือถึงข้อศอก ไหล่และ รักแร้ 
- เช็ดแขนอีกข้างหนึ่ง แช่มือ ล้างและเช็ดให้แห้ง 
- เช็ดหลัง ถ้าผู้ป่วยนอนคว่ำได้ให้นอนคว่ำ ถ้านอนไม่ได้พลิกตะแคง ตัวหันหลังมาทางผู้เช็ดตัว ปูผ้าเช็ดตัวแนบที่หลัง เช็ดตั้งแต่กกหูต้น คอ ไหล่ลงมาจนถึงก้นกบ และสะโพก เช็ดให้แห้ง ทาแป้ง (ถ้าผู้ป่วย มีไข้ไม่ควรทาแป้ง) นวดหลัง 
- เช็ดขาด้านไกลตัว ใช้ผ้าเช็ดตัวรองตามยาว เช็ดทีละท่อน ตั้งแต่เท้า เข่า ขาหนีบ และอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาด
- เช็ดขาอีกข้างหนึ่ง แช่เท้า ล้างและเช็ดให้แห้ง 
- ใส่เสื้อผ้า (ถ้ามีน้ำเกลือแขวนอยู่ เอาขวดน้ำเกลือสอดแขนเสื้อข้างที่ให้ น้ำเกลือก่อน) 
- ใส่ผ้าถุง หรือ กางเกง ทาแป้งที่หน้า คือ รักแร้อก และขาหนีบ ยกเว้น บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ 
- ใช้ผ้าเช็ดตัวรองที่หมอน หวีผม 
- เก็บอุปกรณ์ล้างทำความสะอาด 
หมายเหตุ : ควรเปลี่ยนน้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อ การเช็ดตัว 1 ครั้ง : ถ้าผู้ป่วยมีไข้ ไม่ควรทาแป้ง

การรับประทานอาหาร 
            การรับประทานอาหาร จัดร่างกายให้อยู่ในท่านั่งที่สมดุล พยายามใช้มือข้างที่อ่อนแรงให้ มากเท่าที่ทำได้เช่น ช่วยประคองแก้วน้ำ หรือหยิบอาหาร จัดโต๊ะอาหาร จานชาม ให้เป็นระเบียบ และหยิบใช้ง่าย เครื่องมือบางอย่าง เช่น แผ่นยาง รองจาน และแผ่นกันอาหาร อาจช่วยให้การรับประทานอาหารสะดวกมาก ขึ้นได้ 
- ควรเลือกอาหารที่เหมาะสม ควรมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น โจ๊ก เจลลี่ กล้วย รับประทานให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มี กากใยทุกชนิด 
- กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,250 มล
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง
การแต่งตัว 
            การแต่งตัว เมื่อเริ่มสวมเสื้อ เริ่มด้วยการสอดแขนข้างที่อ่อนแรงเข้าไปก่อน จัด เสื้อให้เข้าที่แล้วสอด แขนข้างที่ปกติเข้าไปในแขนเสื้อ แล้วใช้แขนข้างนั้น สวมต่อจนเสร็จ สำหรับการสวมรองเท้า และ ถุงเท้าใช้วิธีการแบบเดียวกัน คือ ไขว้ขาข้างที่เสียไปขึ้นมา เพื่อจะเอื้อมถึงบริเวณเท้า ได้สะดวก สวม ข้างที่อ่อนแรงให้เสร็จก่อน ส่วนการถอดให้ถอดข้างที่เสียเป็นข้างสุดท้าย 

    

  

     
การฝึกพูด
            การฝึกพูด การฝึกพูดเพื่อการสื่อสารได้ดี ชัดเจน นักอรรถบำบัดจะช่วยสอน ทักษะ และสอนญาติเพื่อช่วยฝึกผู้ป่วย นอกจากนี้เสียงเพลง หรือดนตรีก็สามารถทำให้ ผู้ป่วยมีการพูดดีขึ้น


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกอายุรกรรม ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
โทร 045-429100 ต่อ 1123, 1124