ข้อมูลสุขภาพ

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง EP.5 ปัญหาที่พบหลังการเจ็บป่วยและดูแล

ปัญหาที่พบหลังจากการเจ็บป่วยและการดูแล 
1. ปัญหาการสื่อสาร 
- ใช้คำถามที่สั้นๆ ง่าย พร้อมทั้งแสดงลักษณะท่าทางประกอบ 
- หาวิธีการสื่อสารแบบอื่นที่ผู้ป่วยทำได้เช่น รูปภาพ 
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยสนทนา หรือสื่อสาร และสามารถตอบคำถามเบื้องต้น ด้วยคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” 
- ถ้าผู้ป่วยเขียนหนังสือได้ให้ใช้การเขียนแทนการพูด


2. ปัญหาเรื่องการเคี้ยว และ การกลืนลำบาก 
- เลือกอาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก และง่ายต่อการกลืน 
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง หรือศีรษะสูง ขณะรับประทานอาหาร ถ้าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเหลวได้ กระตุ้นให้ผู้ป่วย ดื่มน้ำโดยใช้หลอดดูด เพื่อลดการสำลัก และเป็นการช่วย บริหารกล้ามเนื้อในการเคี้ยว
- ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องให้อาหารทางสาย ยาง ผู้ดูแลจะต้องฝึกทักษะ จัดเตรียมสูตร และการปั่นอาหารผสม


3. ปัญหาการบวมของแขน ขา มือ และ เท้า 
        พบบ่อยในข้างที่เป็นอัมพาต สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการ 
- ใช้วัสดุอ่อนนุ่ม เช่น ผ้าห่ม หมอนข้าง หนุนรองข้างที่บวม ให้สูง 
- กระตุ้นให้เปลี่ยนท่าบ่อยๆ 
- ลดอาหารรสเค็ม โดยงดการเติมเกลือ และน้ำปลา 


4. ปัญหาการขับถ่าย 
        ปัญหาการขับถ่าย มักพบปัญหาเรื่องท้องผูก สามารถแก้ไขได้ด้วยการรับประทาน อาหารที่มีกากใย การดื่มน้ำให้พอเพียง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และฝึก การขับถ่ายให้เป็นเวลา


5. ปัญหาการนอน 
        ปัญหาการนอน การนอนของผู้ป่วยหลายคนจะมีวงจร การนอนหลับที่เปลี่ยนไปจากคนปกติ เช่น การนอนกลางวัน แต่ไม่ค่อยนอนตอน กลางคืน หรือนอนหลับเป็นช่วงๆ ต่างจาก คนปกติญาติควรจัดสิ่งแวดล้อม ให้เงียบสงบ ในตอนกลางคืน และควรจัดกิจกรรม เช่น เช้าฝึกเดิน ออกก าลังกาย หรือ ออกก าลังกายวิธีอื่นๆ อ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร ดูโทรทัศน์ฟังวิทยุ


6. ปัญหาด้านจิตใจ
        ปัญหาด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว พูด ไม่ได้ ความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยเกิด ความทุกข์ทรมานใจได้ และ อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ท้อแท้หรือ หงุดหงิด ญาติควรเข้าใจปัญหา และ ไม่ แสดงความรำคาญญาติต้องใจเย็น หมั่นให้กำลังใจ ผู้ป่วย มีความอดทนที่จะให้ความช่วยเหลือและ ทำ ความเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย


อาการและอาการแสดงที่ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์
- มีไข้ติดต่อกันมากกว่า 3 วัน 
- เป็นแผลที่ผิวหนัง 
- ไอมีเสมหะเป็นหนอง 
- เจ็บหน้าอก ปวดเอว 
- ปัสสาวะบ่อย และ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ปวดแสบ ปวดร้อนเวลา ปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น 
- คลื่นไส้อาเจียน 
- แขน - ขาอ่อนแรง หรือ สูญเสียความรู้สึกมากขึ้น 
- มีความผิดปกติของสายตามากขึ้น 
- ง่วงซึม กระสับกระส่าย สับสนมากขึ้น 
- พูดลำบาก ไม่เข้าใจคำพูด ไม่สามารถแสดงออกเพื่อการสื่อสาร ได้มากขึ้น 
- เสียการควบคุมการทรงตัวมากขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกอายุรกรรม ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
โทร 045-429100 ต่อ 1123, 1124