ข้อมูลสุขภาพ

การให้อาหารผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การให้อาหารผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทางสาย
        การให้อาหารทางสาย หมายถึง การให้อาหารเหลวเข้าทางสายยางให้อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง 

จุดประสงค์
1. เพื่อให้อาหาร น้ำและยา แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการให้อาหารทางปาก แต่การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ 
2. เพื่อป้องกันภาวะโรคขาดอาหารในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานตามปกติ 

เครื่องใช้
1. อาหารเหลวตามสูตรที่แพทย์สั่ง จำนวน 150-350 ซี.ซี.ต่อมื้อ ห่าง กันทุก 3-4 ชั่วโมง 
2. แก้วใส่น้ำสะอาด 50-100 ซี.ซี.
3.     สำลีชุบน้ำต้มสุก 2-3 ก้อน
4.     ภาชนะ และ กระบอกให้อาหารทางสายยาง ปริมาณ 50 ซีซี. 

วิธีปฏิบัติ 
1. บอกให้ผู้ป่วยทราบว่ากำลังจะให้อาหาร
2. จัดผู้ป่วยให้นอนท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือศีรษะสูง เพื่อป้องกันการไหล ย้อนกลับของอาหารเข้าหลอดลม 
3. ล้างมือให้สะอาด 
4. เช็ดปลายสายให้อาหารให้สะอาดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
5. ต่อปลายสายยางเข้ากับกระบอกให้อาหาร แล้วทดสอบให้มั่นใจว่าสาย ให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารโดยดูดดูน้ำย่อย หรืออาหารเก่าที่ค้างอยู่ 
6. ดูดเอาอาหารที่ค้างเก่าในกระเพาะอาหารออกมา ถ้ามีมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันกลับเข้าไป เพราะจะต้องเลื่อนเวลาในการให้อาหารมื้อนั้น หรือ อาจจะต้องงดมื้อนั้น เนื่องจากอาหารมื้อก่อนยังดูดซึมไม่หมด ถ้าน้ำ ในกระเพาะอาหารที่ต่ำกว่า 50 ซี.ซี. ให้ดันกลับคืนไป และให้อาหาร ต่อไปได้ 
7. เริ่มให้อาหารโดยการพับสายไว้ก่อน และให้อาหารไหลลงกระเพาะ อย่างช้าๆ โดยยกกระบอกให้อาหารสูงกว่าระดับกระเพาะอาหารมาก น้อยขึ้นอยู่กับความหนืดของอาหาร คอยเติมอาหารลงในกระบอก ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร 
8. เตรียมยาหลังอาหารให้พร้อม (ยาเม็ดต้องบดให้ละเอียด ) ให้ยาหลัง อาหาร และให้น้ำตาม 50 ซีซี. เพื่อเป็นการล้างสายให้อาหารให้สะอาด 
9. ยกปลายสายยางให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้อาหารไหลย้อนออกมาคาในสาย แล้วเช็ดปลายสายให้สะอาด ปิดด้วยจุกยางให้แน่น หรือผ้าก๊อส จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าหัวสูงนาน 30-60 นาทีเพื่อให้อาหารไหลลงสู่ทางเดิน อาหารได้สะดวก และ ป้องกันอาหารไหลย้อนกลับขึ้นข้างบน 
10. เก็บข้าวของเครื่องใช้ล้างให้สะอาด และเก็บเข้าที

ข้อควรจำ 
1. ต้องตรวจสายให้แน่ใจว่าสายให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารก่อนให้ อาหารทุกครั้ง 
2. ถ้าดูดอาหารเก่าที่ค้างอยู่มีมากกว่า 50 ซี.ซี. ควรเลื่อนเวลาให้ หรือ ต้องงดอาหารมื้อนั้น 
3. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหัวสูงในขณะให้อาหาร และ เมื่อให้อาหารเสร็จ ควรอยู่ในท่าเดิมนานต่อไปอีก 30-60 นาที 
4. เมื่อให้อาหารเสร็จ ต้องให้น้ำตามทุกครั้ง 
5. ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารนาน ควรเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสายสกปรก 
6. ดูแลรูจมูกให้สะอาด และระวังรอบๆจมูก อย่าให้เกิดแผล ทำความ สะอาดปาก และฟันบ่อยๆ 
7. หมั่นสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย


อาหารผสม สูตรธรรมดา

ส่วนผสม
1. ผงถั่วเหลือง/ข้าวต้มเละๆ เอาแต่เนื้อ 16 ช้อนทานข้าว
2. น้ำต้มสุกเดือดจัด (1,000 ซี.ซี.)
3. เนื้อสัตว์ทำให้สุก (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ) 0.5 ขีด 
4. ไข่ไก่ลวก (ใช้ทั้งฟอง) 1 ฟอง 
5. ฟักทองเอาแต่เนื้อนึ่งให้สุก 1 ขีด 
6. กล้วยน้ำหว้า/มะละกอสุก นึ่งให้สุก(เอาแต่เนื้อ) 1 ชิ้นเล็กๆ 
7. น้ำมันพืช 1 ช้อนกาแฟ 
8. น้ำตาลทราย 6 ช้อนทานข้าว 9. เกลือ เล็กน้อย 


วิธีทำ 
1. นำผงถั่วเหลือง/ข้าวต้มเละๆ เอาแต่เนื้อข้าว และเนื้อสัตว์แล้วกรอง เอากากออกด้วยกระชอน หรือ ผ้าขาวบางก็ได้ 
2. นำส่วนผสมข้อที่1 ที่ทำไว้เสร็จแล้ว มาปั่นรวมกับกล้วยน้ำหว้า/ มะละกอสุกที่นึ่งสุกแล้ว นำมาต้มให้เดือด (ระวังไหม้) แล้วกรองเอา กากออก 
3. นำส่วนผสมข้อ 2 มาปั่นผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ น้ำมันพืช และ ไข่ไก่ นำมาปั่นให้ละเอียดอีกครั้ง 
4. นำใส่ภาชนะ เตรียมให้ผู้ป่วย


ข้อควรระวัง
1. รักษาความสะอาดของวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนในการท าทุกครั้ง เพราะผู้ป่วยอาจจะท้องเสียได้ 
2. อาหารที่จะเสริม ให้กับ ผู้ป่วย โดยเฉพาะนม ควรเริ่มให้ทีละน้อยๆ ก่อนเพื่อดูว่ามีอาการท้องเสียหรือไม่ ถ้าท้องเสียให้หยุดไว้ก่อน แล้ว จึงเริ่มต้นให้ใหม่อีกครั้ง (ให้ลองหลายๆยี่ห้อ) ถ้ายังท้องเสียอยู่ให้เลิก กินนมชนิดนั้นๆไป แต่ถ้าท้องไม่เสียก็ค่อยเพิ่มจำนวน ให้ดูด้วยว่า ผู้ป่วยรับได้หรือไม่  
3. อาหารที่จะเสริมให้กับผู้ป่วยได้ทุกชนิด แต่ ยกเว้น อาหารที่มีกาก มาก รสเผ็ด เปรี้ยว และ หวานมีมันมากๆ 
4. ผักและผลไม้ให้ได้ทุกชนิดที่สามารถคั้นออกมาเป็นน้ำได้ เช่น ส้ม สับปะรด มะนาว เป็นต้น 
5. เนื้อสัตว์ให้ได้ทุกชนิด เช่น ตับให้ลวก เนื้อไก่ต้มให้สุก เลือกเอาแต่ เนื้อแดง (ไม่เอามัน และ หนัง) 
6. อาหารที่สำเร็จแล้วจะต้องไม่มีกาก เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันที่ สายยางให้อาหาร 
7. วิธีการเก็บอาหาร ควรปิดให้สนิท แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการ บูดของอาหาร 
8. ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยควรนำมาอุ่นให้เดือด แล้วนำมาปั่นและกรองอีกครั้ง ไม่ให้มีกาก เสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็นด้วยอุณหภูมิห้อง (อาหารจะต้อง ไม่ร้อนและเย็นจัดจนเกินไป)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การให้อาหารทางสายยาง
แผนกฉุกเฉิน
โทร 045-429100 ต่อ 1107, 1146

อาหารสำหรับผู้ป่วย
แผนกโภชนาการ 
โทร 045-429100 ต่อ 1138